ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด (Circulatory System) เป็นระบบที่เลือดทำหน้าที่ลำเลียงสารต่างๆ ที่เซลล์ต้องการให้ไปเซลล์ และกำจัดสารต่างๆ ที่เซลล์ไม่ต้องการออกจากร่างกาย ประเภทของระบบหมุนเวียนเลือดมี 2 แบบ ดังนี้
1.ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด (Close Circulatory System) ระบบนี้เลือดจะไหลเวียนอยู่ภายในหลอดเลือดและหัวใจตลอดเวลาโดยเลือดจะมีทิศทางการไหลออกจากหัวใจไปตามหลอดเลือดชนิดต่างๆ แล้วไหลกลับเข้าสู่หัวใจใหม่เช่นนี้เอยไป พบในสัตว์จำพวกหนอนตัวกลมมีปล้อง เช่น ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด และสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด
2.ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด (Open Circulatory System) ระบบนี้เลือดที่ไหลออกจากหัวใจจะไม่อยู่ในหลอดเลือดตลอดเวลาเหมือนแบบวงจรปิด โดยจะมีเลือดไหลเข้าไปในช่องว่างลำตัวและที่ว่างระหว่างอวัยวะต่างๆ พบในสัตว์จำพวกแมลง กุ้ง ปู และหอย
โครงสร้างส่วนประกอบและหน้าที่ของอวัยวะในระบบหมุนเวียนเลือด มีดังนี้
1.หัวใจ (Heart) อยู่ระหว่างปอดทั้ง 2 ข้าง ค่อนไปทางซ้ายเล็กน้อย ประกอบด้วยกล้ามเนื้อพิเศษที่เยกว่า กล้ามเนื้อหัวใจ แบ่งออกเป็นห้องบน 2 ห้อง เรียกว่า Atrium (เอเตรียม) และห้องล้างซ้ายเรียนกว่า Ventricle (เวนตริเคิล) หัวใจห้องบนมีขนาดเล็กกว่าห้องล่าง และระหว่างหัวใจห้องบนกับห้องล่างจะมีลิ้นหัวใจที่กั้นอยู่เพื่อไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ ได้แก่ ลิ้นไตรคัสพิด (Tricuspid Valve) อยู่ระหว่างห้องบนขวากับล่างขวา และลิ้นไบคัสปิด (Bicuspid Valve)
2.หลอดเลือด (Blood Vessel) การหมุนเวียนของเลือดจากหัวใจไปและกลับจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนั้นต้อง อาศัยหลอดเลือด ซึ่งมีอยู่ ทั่วร่างกาย หลอดเลือดในร่างกายคนเราแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1.หลอดเลือดอาร์เทอรี ( Arteries ) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดนี้เป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนมาก ยกเว้นเลือดที่ส่งไปยังปอด ซึ่งเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มาก หลอดเลือดอาร์เทอรีมีผนังหนาไม่มีลิ้นกั้น มีความแข็งแรง เพื่อให้มีความทนทานต่อแรงดันเลือดที่ถูกฉีดออกจากหัวใจ
2.หลอดเลือดเวน ( Vein ) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจ เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดนี้เป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูง ยกเว้นเลือดที่นำจากปอดมายังหัวใจ จะเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูง ภายในหลอดเลือดนี้จะมีลิ้นป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
3.หลอดเลือดฝอย ( Capillaries ) เป็นหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กละเอียดเป็นฝอยติดต่ออยู่ระหว่างแขนงเล็ก ๆ ของหลอดเลือดอาร์เทอรีและหลอดเลือดเวน หลอดเลือดฝอยมีผนังบางมาก เป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนสารอาหาร แก๊ส และสิ่งต่าง ๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์ของร่างกาย
3.เลือด ( Blood ) ในร่างกายคนเรามีเลือดอยู่ประมาณร้อยละ 9-10 ของน้ำหนักตัว เลือดมีส่วนประกอบ ที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
1.ส่วนที่เป็นของเหลว ซึ่งเรียกว่า น้ำเลือด หรือพลาสมา ( Plasma ) มีอยู่ประมาณร้อยละ55 ของปริมาณเลือดที่ไหลอยู่ในร่างกาย ในน้ำเลือดประกอบด้วยน้ำ ร้อยละ 91 นอกนั้นเป็นสารอื่น ๆ ได้แก่ สารอาหารต่าง ๆ เอนไซม์ ฮอร์โมน และแก๊ส รวมทั้งของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการ เช่น ยูเรีย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น น้ำเลือดทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหาร เอนไซม์ ฮอร์โมน และแก๊สกลับไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย และลำเลียงของเสียต่าง ๆ มายังปอดเพื่อขับออกจากร่างกาย
2.ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือด และเกล็ดเลือด ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 45 ของปริมาณเลือดทั้งหมด
2.1เซลล์เม็ดเลือดมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1)เซลล์เม็ดเลือดแดง ( Red Blood Cell ) มีรูปร่างค่อนข้างกลมแบน ตรงกลางบุ๋มเข้าหากัน เมื่อโตเต็มที่ไม่มีนิวเคลียส ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นสารประเภทโปรตีนที่เรียกว่า ฮีโมโกลบิน ซึ่งมีเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ฮีโมโกลบิน มีสมบัติในการรวมตัว กับแก๊ส ออกซิเจน ได้ดีมาก เซลล์เม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจนไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และลำเลียงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปสู่ปอดเพื่อทำการแลกเปลี่ยนแก๊ส เซลล์เม็ดเลือดแดงสร้างที่ไขกระดูก และเซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 110-120 วัน หลังจากนั้นจะถูกส่งไปทำลายที่ตับและม้าม
2)เซลล์เม็ดเลือดขาว ( White Blood cell ) มีรูปร่างกลม ขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง ไม่มีนิวเคลียส เซลล์เม็ดเลือดขาว ในร่างกาย มีอยู่หลายชนิด ทำหน้าที่ต่อต้านและทำลาย เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม ที่เข้าสู่ร่างกาย แหล่งที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวได้แก่ ม้าม ไขกระดูก และต่อมน้ำเหลือง เซลล์เม็ดเลือดขาวมีอายุประมาณ 7-14 วัน ก็จะถูกทำลาย
2.2เกล็ดเลือด ( Blood Platelet ) เป็นส่วนประกอบของเลือดที่ไม่ใช่เซลล์ มีขนาดเล็กมาก ไม่มีสี ไม่มีนิวเคลียส ทำหน้าที่ช่วยทำให้เลือดแข็งตัวเมื่อเลือดออกสู้ภายนอกร่างกาย และช่วยห้ามเลือดในกรณีที่เกิดบาดแผล โดยจับรวมตัวกันเป็นกระจุกร่างแหอุดรูของหลอดเลือดฝอยทำให้เลือดหยุดไหล แหล่งที่สร้างเกล็ดเลือดได้แก่ ไขกระดูก เกล็ดเลือดมีอายุ 4 วันเท่านั้นก็จะถูกทำลาย
การหมุนเวียนเลือดไปยังส่วนต่างของร่างกาย
1.เลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนต่ำ จะไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา (Right Atrium )
2.เมื่อหัวใจบีบตัวเลือดจะไหลจากหัวใจห้องบนขวาผ่านลิ้นหัวใจลงสู่หัวใจห้องล่างขวา ( Right Ventricle )
3.เมื่อหัวใจห้องล่างขวาบีบตัว เลือดจะไหลเข้าสู่หลอดเลือดไปยังปอด เมื่อมีการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจน เลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูงจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย ( Left Atrium )
4.เมื่อหัวใจห้องบนซ้ายบีบตัว เลือดจะไหลผ่านลิ้นหัวใจลงสู่หัวใจห้องล่างซ้าย(Left Ventricle )
5.เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว เลือดจะไหลเข้าสู่หลอดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และเมื่อเลือดมีปริมาณแก๊สออกซิเจนต่ำก็จะไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนชวาเป็นเช่นนี้เรื่อย ๆ ไป